วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอฝาง














ดอยอ่างขาง

สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง ตั้งขึ้นโดยสืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณนทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป้นแหล่ง สำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอาาศที่หนาวเย็นมีการปลูกฝิ่นมากไม่มีป่าไม้อยู่เลยและ สภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนักประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตาต่ิอกิ่ง กับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1500 บาท เพื่อซื้อ ที่ดินและไร่ในบริเวณ ดอยอ่างขาง ส่วนหนึ่ง จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ ้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลอง ปลูกพืชเมืองหนาวชนิด ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูก ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานนามว่า สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง


สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ที่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ อยู่สูงจากระดับ
น้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร คำว่า “อ่างขาง” ในภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างข่าง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆ ละลายเป็นโพรงแล้ว ยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร
สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรในงานวิจัยประมาณ 1,800 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม 6 หมู่บ้าน ได้แก่
่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม

บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา และบ้านขอบด้ง ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ อุณหภูมิเฉลี่ย ตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด–3 องศาเซเซียสในเดือนมกราคม ซึ่งหากมาเที่ยวในช่วงดังกล่าวอาจพบกับ แม่คะนิ้งหรือน้ำค้างแข็งได้






พระตำหนักอยู่ในป่าเมเปิ์ลบนเนินฝั่งตรงข้ามกับ


สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในสถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง

สวนแปดสิบ
เป็นสวนจัดกลางแจ้งจะอยู่ด้านในสถานีฯ ตรงข้ามบริเวณสโมสร ซึ่งสวนนี้ตั้งชื่อตามอายุขององค์ประธานมูลนิธิ
โครงการหลวงหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ในวาระที่ทรงมีอายุครบ 80 ชันษา โดยจะจัดตกแต่งสวนในสไตล์อังกฤษ
ด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เมืองหนาวนานาชนิด เช่น กะหล่ำประดับ เดซี ลินาเลีย ชบาอาบูติลอน ฯลฯ
สวนคำดอย
เป็นสวนที่รวบรวมพันธุ์ไม้ดอกตระกูลโรโดเดนดรอน (Rhododendron) หรือ ดอกคำดอย(กุหลาบพันปลี) ซึ่งดอกคำที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ฮอลแลนด์ และ อังกฤษ ซึ่งจะไม่มีปลูกที่อื่นนอกจากที่สวนแห่งนี่ที่เดียว และลักษณะเด่นของกุหลาบพันปลีที่นำเข้าจะเป็นกุหลาบพันปลีด่าง คือลักษณะต้นใบจะด่างในบ้างพันธุ์ดอกกุหลาบพันปลีจะมีสีเหลืองและสีชมพู ส่วนกุหลาบพันปลีพันธุ์พื้นเมืองนั้นจะมีดอกสีแดง หรือสีขาว นอกจากนี้ยังมีการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวหลายชนิด เช่น อะซาเลีย คาเมเลีย ลาเวนเดอร์ ซึ่งสวนนี้จะอยู่ตรงข้ามกับสวนแปดสิบ
สวนหอม
สวนนี้จะอยู่ติดกับบริเวณสโมสรของสถานีฯ โดยภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ หอมทุกชนิดทั้งพันธุ์ไม้หอมของไทยและพันธุ์ไม้หอมจากต่างประเทศ เช่น หอมหมื่นลี้ เนสเตอเตียมคาร์เนชัน เจอราเนียม หญ้าหอม ลาเวนเดอร์ลาเวนดริน และ แมกโนเลีย (ไม้ยืนต้นตระกูลจำปีป่า)
สวนสมเด็จ
เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนาง เจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จยังดอยอ่างข่างและหลังจากเสร็จพระราชภาระกิจการทรงงานแล้วจะทรงประทับพักผ่อนพระอิริยาบถในสวนแห่งนี้ โดยลักษณะของสวนจะเป็นสวนหินที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติและภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ประเภทฝิ่นประดับ ดอกป๊อปปี้ และไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ ได้แก่ กระดุมเงินกระดุมทอง ปักษาสวรรค์ เป็นต้น
กุหลาบอังกฤษ
เหตุที่เรียกกุหลาบก็เนื่องมาจากกุหลาบที่ปลูกในสวนแห่งนี้ เป็นกุหลาบที่นำเข้าจากประเทศอังกฤษ โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งสายพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกนั้นมีมากกว่า 200 กว่าสายพันธุ์ และกุหลาบเหล่านี้จะผลิดอกสวยที่สุดจะเป็นช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
เรือนดอกไม้
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวชนิดต่างๆ มากมาย อาทิเช่น บีโกเนีย รองเท้านารี พืชกินแมลงมุมน้ำตกในสวนสวย ซึ่งดอกไม้ในสวนเหล่านี้จะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ภายในบริเวณโรงเรือนจะมีจุดจำหน่ายผลผลิตของสถานีและผลิตภัณฑ์แปรรูป พร้อมมีมุมนั่งพักจิบกาแฟอีกด้วย
โรงเรือนทดสอบพันธุ์กุหลาบตัดดอก
ภายในโรงเรือนกุหลาบท่านจะได้ชื่นชมกับกุหลาบตัดดอกสายพันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์กว่า 7 สายพันธุ์ ซึ่งจะมีสีสันสวยงามและมีกลิ่นหอมพร้อมรอผู้มาเยือน
สวนบอนไซ
บริเวณด้านในสวนบอนไซจะจัดแสดงบอนไซหลากหลาย รูปแบบ และยังมีบอนไซที่มีอายุยืนที่สุดในโลกให้ได้ชมอีกด้วย นอกจากนี้โดมรูปทรงหกเหลี่ยมจะจัดแสดงพืชภุเขาเขตร้อนและดอกกล้วยไม้จิ๋วที่สุดที่จะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี และมีสวนหินธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับพันธุ์ไม้ป่าหลากชนิด และจุดชมวิวที่จะมองเห็นทัศนีย์ภาพของสถานีฯได้ทั่วบริเวณ
แปลงไม้ผลเมืองหนาว
เป็นแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาวชนิดต่างๆ ได้แก่ พีช บ๊วย พลับ สาลี่ พลัม กีวีฟรุ๊ต ราสพ์เบอรี่ บูลเบอรี่ สตรอเบอรี่ หยางเมย ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังสถานีเกษตรหลวงอ่างขางสามารถมองเห็นแปลงไม้ผลเมืองหนาวเหล่านี้ได้ตลอดเส้นทางที่ขับรถรอบบริเวณสถานีฯ แต่เนื่องจากแปลงไม้ผลเมืองหนาวเหล่านี้เป็นแปลงงานทดลองนักท่องเที่ยวจึึงได้รับอนุญาตให้ชื่นชมความสวยงามและ แปลกตาของไม้ผลเหล่านี้แค่บริเวณภายนอกแปลงเท่านั้น
พระตำหนัก
เป็นเรือนที่ประทับแรมและศาลาทรงงานเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จยังสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยทั่วบริเวณจะตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ป่า ไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆโดยนักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมบริเวณด้านนอกของ พระตำหนักได้
จุดชิมชา
จะตั้งอยู่บริเวณใกล้กับสวนบอนไซ โดยขับรถผ่านหน้าสวนบอนไซ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปตามถนนจะพบจุดชิมชา ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตชาเขียวของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้ชมขั้นตอนการผลิตชา พร้อมการสาธิตวิธีการชงชาและยังจะได้ชิมชาอีกด้วย
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางเหล่านี้จะอยู่ในแปลงสาธิตการปลูกป่าทดแทน จะเป็นเส้นทางเดินป่าระยะสั้นโดย เป็นเส้นทางที่ทางสถานีกำหนดขึ้นรอบๆสถานีฯ ซึ่งมีเส้นทางทั้งหมด 9 เส้นทางด้วยกัน และพันธุ์ไม้ที่ปลูกในแปลงสาธิตเหล่านี้จะเป็นพันธุ์ไม้ที่นำเข้ามาปลูกจากประเทศไต้หวัน อาทิเช่น สน การบูร เมเปิล ฯลฯ
โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผัก
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุ์ผักเมืองหนาวชนิดต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง ซึ่งมีพื้นที่ที่ใช้ปลูกผักในโรงเรือน1,165 ตารางเมตร โดยจัดแสดงไว้ให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม โดยชนิดผักที่ปลูกในโรงเรือนได้แก่ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดาว กะหล่ำปลี, ผักตระกูลแตง เช่น ซุกินีเหลือง ฟักประดับ, ผักตระกูลมะเขือ เช่นมะเขือเทศเชอรี่ มะเขือม่วงก้านดำ , ผักตระกูลแครอท เช่น พาร์สเลย์ เซเลอรี่ และ ผักตระกูลถั่ว เช่น ถั่วหวาน ถั่วปากอ้า

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบริเวณสถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง

หมู่บ้านขอบดัง
ตั้งอยู่บริเวณสันขอบอ่างระหว่างพื้นที่ดอยอ่างขางและอำเภอฝาง โดยอยู่ห่างจากสถานีฯออกไปประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นหมู่บ้านของชาวมูเซอดำที่มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่เรียบง่าย ซึ่งภายในหมู่บ้านจะมีศูนย์หัตถกรรมที่จำหน่ายสินค้าที่ระลึก เช่น กำไลหญ้าอิบูแค ตะกร้าสาน ฯลฯ
หมู่บ้านนอแล
เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผาปะหล่องที่อพยพมาจากประเทศพม่า ซึ่งหมู่บ้านจะตั้งอยู่ห่างจากตัวสถานีฯประมาณ 5 ก.ม.นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชาวปะหล่องได้ นอกจากนี้ยังมีของที่ระลึกจำหน่าย อาทิเช่น กระเป๋า,ผ้าพันคอ,ผ้าถุง ซึ่งถือเป็นฝีมือของชาวเขาเองแถบทั้งสิ้น
หมู่บ้านคุ้ม
บ้านคุ้มจะตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าสถานีฯ ซึ่งประกอบไปด้วยคนหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยใหญ่,ชาวพม่า และชาวจีนฮ่อ โดยส่วนมากชาวบ้านจะประกอบอาชีพด้านการค้า เช่น การขายของที่ระลึก,ผลไม้ดอง แช่อิ่ม , เปิดบริการด้านอาหารและที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
หมู่บ้านหลวง
เป็นหมู่บ้านของชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอาชีพหลักของชาวบ้านจะเป็นอาชีพด้าน การเกษตร ซึ่งจะปลูกผลไม้ อาทิเช่น พีช,พลัม,สาลี่ นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านยังมีีร้านอาหารจีนยูนาน จำหน่ายข้าวซอย และ ซาลาเปารสชาดดี สไตล์จีนยูนานให้นักท่องเที่ยวได้ลองชิมอีกด้วย
จุดชมพระอาทิตย์
เป็นจุดที่อยู่ระหว่างเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปบ้านขอบด้งและนอแล จุดนี้จะเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้สวยงามที่เดียว โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวจะมารอชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกตอนเช้าทำให้เป็นจุดท่องเที่ยวที่คึกคักอีกจุดหนึ่ง
จุดชมวิวชายแดนไทยพม่า
จุดนี้จะตั้งอยู่ ณ ฐานทหารไทยบริเวณเดียวกับหมู่บ้านนอแล ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชายแดนไทยและชายแดนของประเทศพม่า ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นทัศนียภาพของฝั่งประเทศพม่าได้ นอกจากนี้ ยังจะได้ชมแบบบ้านตัวอย่างของทหารว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร
เขาหัวโล้น เขาหัวนก
เป็นชื่อของภูเขาสองลูกของไทยและพม่า โดยที่เขาหัวโล้นจะอยู่ในฝั่งไทยส่วนเขาหัวนกจะอยู่ฝั่งพม่า และเราจะสังเกตที่ตั้งของภูเขาทั้งสองลูกนี้ได้ เพราะจะอยู่ด้านซ้ายมือระหว่างเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปหมู่บ้านนอแล
จุดสุงสุดของดอยอ่างขาง
จุดนี้จะเป็นจุดที่สูงที่สุดของดอยอ่างขาง ตั้งอยู่ด้านนอกสถานีฯ โดยจะเริ่มเส้นทางบริเวณจุดชมนกและเส้นทางเดินกุหลาบพันปี ซึ่งจะใช้เวลาเดินเท้าขึ้นไปประมาณชั่วโมงครึ่ง ซึ่งยอดจะมีความสูง 1,928 เมตรจากระดับน้ำทะเล หากนักท่องเที่ยวขึ้นไปชมวิวบนยอดในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี ท่านจะได้เห็นกุหลาบพันปีที่ะออกดอกตลอดเส้นทางที่เดินขึ้นไปยอดดอยทีเดียว

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โทร. 0 5345 0107 - 9

ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างข่าง

ดอยอ่างข่าง


ดอยอ่างข่าง
ดอยอ่างข่าง


ดอยอ่างข่าง


การเดินทางไปดอยอ่างขา่ง

1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
บนเส้นทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
สวนส้มธนาธร


รวมที่พักบนดอยอ่างขาง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โทร. 0 5345 0107-9
รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง โทร. 0 2264 9711 เว็บไซต์ http://thai.amari.com/angkhang/
สุวรรณภูมิรีสอร์ท โทร. 0 5345 0045, 08 1765 5609 Fax: 0 5345 0041 http://www.svpresort.com/
บ้านพักเลาติง www.laotinghotel.com
บ้านหลวงรีสอร์ทดอยอ่างขาง ติต่อ คุณธวัชชัย 081-881-8114 หรือ แฟ็ก 053-450022
บ้านพักคนเมือง ติดต่อนางจันทร์เที่ยง อุปนันท์ ตู้ ปณ. 14 อ. ฝาง จ. เชียงใหม่
บ้านพักนาหา โทร. 0 5345 0008
อ่างขางวิลล่า ติดต่อคุณเจิน 053-450010 หรือ053-450023 หรือ มือถือ087-1837500
บ้านพักกรมป่าไม้ โทร. 0 5345 0017
บ้านรุ่งเกียรติโชคชัย โทร. 0 5388 4591 และ 0 5388 4600


รวมโรงแรม รีสอร์ท ที่พักใน อ. ฝาง ใกล้ ดอยอ่างขาง
บ้านสบายโทรศัพท์: 0 5345 3453, 08 4174 5298

วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีที่สนใจ




Nokia 6500 Slide Black Edition

โนเกีย 6500 Slide Black edition ดีไซน์สวยงาม เรียบหรูในรูปแบบสไลด์ ตัวเครื่องประกอบจากวัสดุสแตนเลส สตีล สีดำมันวาว ที่มาพร้อมกับกล้องถ่ายรูปความละเอียด 3.2 ล้านพิกเซล บันทึกได้ทั้งภาพนิ่ง และ ภาพเคลื่อนไหว ด้วยเลนส์คุณภาพสูงจาก Carl Zeiss Optic พร้อมแฟลช Double LED ที่ช่วยให้ถ่ายภาพในที่มืด ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถส่งภาพผ่าน TV out บนหน้าจอโทรทัศน์ได้อีกด้วย

ด้านหน้าส่วนบนเป็นจอแสดงผล ส่วนล่างเป็นแฝงปุ่มควบคุม ด้านหลังประกอบไปด้วย กล้องถ่ายรูป ไฟแฟลช และลำโพงเสียง ด้านซ้ายของตัวเครื่อง มีปุ่มปรับระดับเสียงอยู่ส่วนบน และส่วนล่างเป็นปุ่มชัตเตอร์ สำหรับการถ่ายภาพ เมื่อแกะฝาหลังออกจะพบ ช่องใส่การ์ดหน่วยความจำภายนอก ซึ่งติดตั้งอยู่เหนือช่องวางแบตเตอรี่ ช่องใส่ ซิมการ์ด ถูกซ่อนไว้ใต้ช่องใส่การ์ด Micro SD

เข้าสู่การถ่ายภาพได้อย่างรวดเร็วเพียงกดปุ่มชัตเตอร์ ซึ่งใช้เป็นปุ่มบันทึกภาพด้วยในตัว สามารถปรับความละเอียดของรูปภาพ ได้ 6 ระดับ ขนาดภาพสูงสุด คือ 1536 x 2048 พิกเซล สลับโหมดการบันทึกภาพนิ่ง และวิดีโอโดยกดปุ่ม Soft key ในโหมดวีดีโอ สามารถปรับความละเอียดของวิดีโอได้ 4 ระดับ

คุณสมบัติของกล้อง
  • โหมดถ่ายภาพในเวลากลางคืน
  • เปิดหรือปิดการใช้งานไฟแฟลช และใช้งานไฟแฟลชแบบอัตโนมัติ
  • ตั้งเวลาถ่ายาภาพอัตโนมัติ 3, 5, 10 วินาที
  • โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง
  • ใส่โทนสีได้ 4 แบบ ปกติ, เฉดสีเทา, ซีเปีย และ เนกาทีฟ
  • ปรับสมดุลแสงสีขาว 5 แบบ อัตโนมัติ, แสงแดด, ทังสเตน, นีออน และ เส้นขอบฟ้า
  • เปิดหรือปิดเสียงกดปุ่มชัตเตอร์
  • คุณสมบัติในการถ่ายภาพนิ่ง
    - ปรับคุณภาพได้ 3 ระดับ สูง ปกติ และ ธรรมดา
    - ปรับความละเอียดได้ 6 ขนาด 1536x2048, 1200x1600, 960x1280x 480x640, 240x320 และ 120x160 พิกเซล
  • คุณสมบัติในการบันทึกวีดีโอ
    - ปรับคุณภาพได้ 3 ระดับ สูง ปกติ และ ธรรมดา
    - ปรับความละเอียดได้ 4 ขนาด 640x480, 352x288, 176x144 และ 128x96 พิกเซล