วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอฝาง














ดอยอ่างขาง

สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง ตั้งขึ้นโดยสืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณนทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป้นแหล่ง สำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอาาศที่หนาวเย็นมีการปลูกฝิ่นมากไม่มีป่าไม้อยู่เลยและ สภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนักประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตาต่ิอกิ่ง กับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1500 บาท เพื่อซื้อ ที่ดินและไร่ในบริเวณ ดอยอ่างขาง ส่วนหนึ่ง จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ ้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลอง ปลูกพืชเมืองหนาวชนิด ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูก ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานนามว่า สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง


สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ที่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ อยู่สูงจากระดับ
น้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร คำว่า “อ่างขาง” ในภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างข่าง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆ ละลายเป็นโพรงแล้ว ยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร
สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรในงานวิจัยประมาณ 1,800 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม 6 หมู่บ้าน ได้แก่
่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม

บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา และบ้านขอบด้ง ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ อุณหภูมิเฉลี่ย ตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด–3 องศาเซเซียสในเดือนมกราคม ซึ่งหากมาเที่ยวในช่วงดังกล่าวอาจพบกับ แม่คะนิ้งหรือน้ำค้างแข็งได้






พระตำหนักอยู่ในป่าเมเปิ์ลบนเนินฝั่งตรงข้ามกับ


สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในสถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง

สวนแปดสิบ
เป็นสวนจัดกลางแจ้งจะอยู่ด้านในสถานีฯ ตรงข้ามบริเวณสโมสร ซึ่งสวนนี้ตั้งชื่อตามอายุขององค์ประธานมูลนิธิ
โครงการหลวงหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ในวาระที่ทรงมีอายุครบ 80 ชันษา โดยจะจัดตกแต่งสวนในสไตล์อังกฤษ
ด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เมืองหนาวนานาชนิด เช่น กะหล่ำประดับ เดซี ลินาเลีย ชบาอาบูติลอน ฯลฯ
สวนคำดอย
เป็นสวนที่รวบรวมพันธุ์ไม้ดอกตระกูลโรโดเดนดรอน (Rhododendron) หรือ ดอกคำดอย(กุหลาบพันปลี) ซึ่งดอกคำที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ฮอลแลนด์ และ อังกฤษ ซึ่งจะไม่มีปลูกที่อื่นนอกจากที่สวนแห่งนี่ที่เดียว และลักษณะเด่นของกุหลาบพันปลีที่นำเข้าจะเป็นกุหลาบพันปลีด่าง คือลักษณะต้นใบจะด่างในบ้างพันธุ์ดอกกุหลาบพันปลีจะมีสีเหลืองและสีชมพู ส่วนกุหลาบพันปลีพันธุ์พื้นเมืองนั้นจะมีดอกสีแดง หรือสีขาว นอกจากนี้ยังมีการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวหลายชนิด เช่น อะซาเลีย คาเมเลีย ลาเวนเดอร์ ซึ่งสวนนี้จะอยู่ตรงข้ามกับสวนแปดสิบ
สวนหอม
สวนนี้จะอยู่ติดกับบริเวณสโมสรของสถานีฯ โดยภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ หอมทุกชนิดทั้งพันธุ์ไม้หอมของไทยและพันธุ์ไม้หอมจากต่างประเทศ เช่น หอมหมื่นลี้ เนสเตอเตียมคาร์เนชัน เจอราเนียม หญ้าหอม ลาเวนเดอร์ลาเวนดริน และ แมกโนเลีย (ไม้ยืนต้นตระกูลจำปีป่า)
สวนสมเด็จ
เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนาง เจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จยังดอยอ่างข่างและหลังจากเสร็จพระราชภาระกิจการทรงงานแล้วจะทรงประทับพักผ่อนพระอิริยาบถในสวนแห่งนี้ โดยลักษณะของสวนจะเป็นสวนหินที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติและภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ประเภทฝิ่นประดับ ดอกป๊อปปี้ และไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ ได้แก่ กระดุมเงินกระดุมทอง ปักษาสวรรค์ เป็นต้น
กุหลาบอังกฤษ
เหตุที่เรียกกุหลาบก็เนื่องมาจากกุหลาบที่ปลูกในสวนแห่งนี้ เป็นกุหลาบที่นำเข้าจากประเทศอังกฤษ โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งสายพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกนั้นมีมากกว่า 200 กว่าสายพันธุ์ และกุหลาบเหล่านี้จะผลิดอกสวยที่สุดจะเป็นช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
เรือนดอกไม้
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวชนิดต่างๆ มากมาย อาทิเช่น บีโกเนีย รองเท้านารี พืชกินแมลงมุมน้ำตกในสวนสวย ซึ่งดอกไม้ในสวนเหล่านี้จะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ภายในบริเวณโรงเรือนจะมีจุดจำหน่ายผลผลิตของสถานีและผลิตภัณฑ์แปรรูป พร้อมมีมุมนั่งพักจิบกาแฟอีกด้วย
โรงเรือนทดสอบพันธุ์กุหลาบตัดดอก
ภายในโรงเรือนกุหลาบท่านจะได้ชื่นชมกับกุหลาบตัดดอกสายพันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์กว่า 7 สายพันธุ์ ซึ่งจะมีสีสันสวยงามและมีกลิ่นหอมพร้อมรอผู้มาเยือน
สวนบอนไซ
บริเวณด้านในสวนบอนไซจะจัดแสดงบอนไซหลากหลาย รูปแบบ และยังมีบอนไซที่มีอายุยืนที่สุดในโลกให้ได้ชมอีกด้วย นอกจากนี้โดมรูปทรงหกเหลี่ยมจะจัดแสดงพืชภุเขาเขตร้อนและดอกกล้วยไม้จิ๋วที่สุดที่จะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี และมีสวนหินธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับพันธุ์ไม้ป่าหลากชนิด และจุดชมวิวที่จะมองเห็นทัศนีย์ภาพของสถานีฯได้ทั่วบริเวณ
แปลงไม้ผลเมืองหนาว
เป็นแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาวชนิดต่างๆ ได้แก่ พีช บ๊วย พลับ สาลี่ พลัม กีวีฟรุ๊ต ราสพ์เบอรี่ บูลเบอรี่ สตรอเบอรี่ หยางเมย ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังสถานีเกษตรหลวงอ่างขางสามารถมองเห็นแปลงไม้ผลเมืองหนาวเหล่านี้ได้ตลอดเส้นทางที่ขับรถรอบบริเวณสถานีฯ แต่เนื่องจากแปลงไม้ผลเมืองหนาวเหล่านี้เป็นแปลงงานทดลองนักท่องเที่ยวจึึงได้รับอนุญาตให้ชื่นชมความสวยงามและ แปลกตาของไม้ผลเหล่านี้แค่บริเวณภายนอกแปลงเท่านั้น
พระตำหนัก
เป็นเรือนที่ประทับแรมและศาลาทรงงานเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จยังสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยทั่วบริเวณจะตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ป่า ไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆโดยนักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมบริเวณด้านนอกของ พระตำหนักได้
จุดชิมชา
จะตั้งอยู่บริเวณใกล้กับสวนบอนไซ โดยขับรถผ่านหน้าสวนบอนไซ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปตามถนนจะพบจุดชิมชา ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตชาเขียวของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้ชมขั้นตอนการผลิตชา พร้อมการสาธิตวิธีการชงชาและยังจะได้ชิมชาอีกด้วย
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางเหล่านี้จะอยู่ในแปลงสาธิตการปลูกป่าทดแทน จะเป็นเส้นทางเดินป่าระยะสั้นโดย เป็นเส้นทางที่ทางสถานีกำหนดขึ้นรอบๆสถานีฯ ซึ่งมีเส้นทางทั้งหมด 9 เส้นทางด้วยกัน และพันธุ์ไม้ที่ปลูกในแปลงสาธิตเหล่านี้จะเป็นพันธุ์ไม้ที่นำเข้ามาปลูกจากประเทศไต้หวัน อาทิเช่น สน การบูร เมเปิล ฯลฯ
โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผัก
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุ์ผักเมืองหนาวชนิดต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง ซึ่งมีพื้นที่ที่ใช้ปลูกผักในโรงเรือน1,165 ตารางเมตร โดยจัดแสดงไว้ให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม โดยชนิดผักที่ปลูกในโรงเรือนได้แก่ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดาว กะหล่ำปลี, ผักตระกูลแตง เช่น ซุกินีเหลือง ฟักประดับ, ผักตระกูลมะเขือ เช่นมะเขือเทศเชอรี่ มะเขือม่วงก้านดำ , ผักตระกูลแครอท เช่น พาร์สเลย์ เซเลอรี่ และ ผักตระกูลถั่ว เช่น ถั่วหวาน ถั่วปากอ้า

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบริเวณสถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง

หมู่บ้านขอบดัง
ตั้งอยู่บริเวณสันขอบอ่างระหว่างพื้นที่ดอยอ่างขางและอำเภอฝาง โดยอยู่ห่างจากสถานีฯออกไปประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นหมู่บ้านของชาวมูเซอดำที่มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่เรียบง่าย ซึ่งภายในหมู่บ้านจะมีศูนย์หัตถกรรมที่จำหน่ายสินค้าที่ระลึก เช่น กำไลหญ้าอิบูแค ตะกร้าสาน ฯลฯ
หมู่บ้านนอแล
เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผาปะหล่องที่อพยพมาจากประเทศพม่า ซึ่งหมู่บ้านจะตั้งอยู่ห่างจากตัวสถานีฯประมาณ 5 ก.ม.นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชาวปะหล่องได้ นอกจากนี้ยังมีของที่ระลึกจำหน่าย อาทิเช่น กระเป๋า,ผ้าพันคอ,ผ้าถุง ซึ่งถือเป็นฝีมือของชาวเขาเองแถบทั้งสิ้น
หมู่บ้านคุ้ม
บ้านคุ้มจะตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าสถานีฯ ซึ่งประกอบไปด้วยคนหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยใหญ่,ชาวพม่า และชาวจีนฮ่อ โดยส่วนมากชาวบ้านจะประกอบอาชีพด้านการค้า เช่น การขายของที่ระลึก,ผลไม้ดอง แช่อิ่ม , เปิดบริการด้านอาหารและที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
หมู่บ้านหลวง
เป็นหมู่บ้านของชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอาชีพหลักของชาวบ้านจะเป็นอาชีพด้าน การเกษตร ซึ่งจะปลูกผลไม้ อาทิเช่น พีช,พลัม,สาลี่ นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านยังมีีร้านอาหารจีนยูนาน จำหน่ายข้าวซอย และ ซาลาเปารสชาดดี สไตล์จีนยูนานให้นักท่องเที่ยวได้ลองชิมอีกด้วย
จุดชมพระอาทิตย์
เป็นจุดที่อยู่ระหว่างเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปบ้านขอบด้งและนอแล จุดนี้จะเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้สวยงามที่เดียว โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวจะมารอชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกตอนเช้าทำให้เป็นจุดท่องเที่ยวที่คึกคักอีกจุดหนึ่ง
จุดชมวิวชายแดนไทยพม่า
จุดนี้จะตั้งอยู่ ณ ฐานทหารไทยบริเวณเดียวกับหมู่บ้านนอแล ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชายแดนไทยและชายแดนของประเทศพม่า ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นทัศนียภาพของฝั่งประเทศพม่าได้ นอกจากนี้ ยังจะได้ชมแบบบ้านตัวอย่างของทหารว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร
เขาหัวโล้น เขาหัวนก
เป็นชื่อของภูเขาสองลูกของไทยและพม่า โดยที่เขาหัวโล้นจะอยู่ในฝั่งไทยส่วนเขาหัวนกจะอยู่ฝั่งพม่า และเราจะสังเกตที่ตั้งของภูเขาทั้งสองลูกนี้ได้ เพราะจะอยู่ด้านซ้ายมือระหว่างเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปหมู่บ้านนอแล
จุดสุงสุดของดอยอ่างขาง
จุดนี้จะเป็นจุดที่สูงที่สุดของดอยอ่างขาง ตั้งอยู่ด้านนอกสถานีฯ โดยจะเริ่มเส้นทางบริเวณจุดชมนกและเส้นทางเดินกุหลาบพันปี ซึ่งจะใช้เวลาเดินเท้าขึ้นไปประมาณชั่วโมงครึ่ง ซึ่งยอดจะมีความสูง 1,928 เมตรจากระดับน้ำทะเล หากนักท่องเที่ยวขึ้นไปชมวิวบนยอดในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี ท่านจะได้เห็นกุหลาบพันปีที่ะออกดอกตลอดเส้นทางที่เดินขึ้นไปยอดดอยทีเดียว

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โทร. 0 5345 0107 - 9

ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างข่าง

ดอยอ่างข่าง


ดอยอ่างข่าง
ดอยอ่างข่าง


ดอยอ่างข่าง


การเดินทางไปดอยอ่างขา่ง

1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
บนเส้นทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
สวนส้มธนาธร


รวมที่พักบนดอยอ่างขาง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โทร. 0 5345 0107-9
รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง โทร. 0 2264 9711 เว็บไซต์ http://thai.amari.com/angkhang/
สุวรรณภูมิรีสอร์ท โทร. 0 5345 0045, 08 1765 5609 Fax: 0 5345 0041 http://www.svpresort.com/
บ้านพักเลาติง www.laotinghotel.com
บ้านหลวงรีสอร์ทดอยอ่างขาง ติต่อ คุณธวัชชัย 081-881-8114 หรือ แฟ็ก 053-450022
บ้านพักคนเมือง ติดต่อนางจันทร์เที่ยง อุปนันท์ ตู้ ปณ. 14 อ. ฝาง จ. เชียงใหม่
บ้านพักนาหา โทร. 0 5345 0008
อ่างขางวิลล่า ติดต่อคุณเจิน 053-450010 หรือ053-450023 หรือ มือถือ087-1837500
บ้านพักกรมป่าไม้ โทร. 0 5345 0017
บ้านรุ่งเกียรติโชคชัย โทร. 0 5388 4591 และ 0 5388 4600


รวมโรงแรม รีสอร์ท ที่พักใน อ. ฝาง ใกล้ ดอยอ่างขาง
บ้านสบายโทรศัพท์: 0 5345 3453, 08 4174 5298

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น